วายร้าย Burnout




หลายคนมีอาการ Burnout โดยไม่รู้ตัว จากการทำงานหนักมากเกินไป มองว่างานเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ทุ่มเทเวลาให้งาน แต่ไม่ได้รับการผักผ่อนชดเชยอย่างเหมาะสมหลายคนมองว่าเป็นเรื่องปกติที่คนทำงานต้องเจอ แต่เมื่อร่างกายเหนื่อยล้าทับถมกันมากขึ้น จนมีอาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง รวมไปถึงจิตใจที่รู้สึกเศร้าหมองขาดแรงจูงใจ ไม่มีสมาธิ และเริ่มรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า บางคนอาจมีอาการแตกต่างกันไปแต่สิ่งที่เหมือนกันคือความรู้สึก หมดไฟที่จะทำงาน


◉ แล้วอาการ Burnout เป็นอย่างไร 

นพ.ธรรมนาถ เจริญบุญ ได้ให้นิยามของคำว่า Burnout หมายถึง “ความรู้สึกอ่อนล้าทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ อันเกิดจากการที่ต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดเป็นเวลานานๆ”

นี่คือเรื่องน่าพูดถึงเพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวของคนที่เป็นศิลปินหรือคนที่ต้องใช้เวลาอยู่กับการทำงานเป็นเวลานาน แน่นอนว่าการสร้างงานศิลปะขึ้นมาซักชิ้นต้องใช้เวลา ความคิด สติปัญญา ความชำนาญ และร่างกายที่ต้องลงมือลงแรงผู้สร้างผลงานต้องใช้เวลาอยู่กับงานเพื่อสร้างงานที่มีคุณค่าศิลปินหลายท่านหมกมุ่นอยู่กับการทำงานแม้ว่าจะไม่ได้อยู่ที่ทำงานก็ตามทุ่มเทให้งานเพื่อสร้างสรรค์งานศิลปะ แต่ละเลยการดูแลตัวเอง ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ดีถึงจะไม่หนักหนาขนาดทำให้เกิดอาการ Brunout แต่เมื่อร่างกายถูกลดทอนความสำคัญสุขภาพที่ย่ำแย่ก็เป็นสิ่งที่หลีกหนีไม่พ้น รักตนเองให้ เหมือนกับความรู้สึกรักที่จะสร้างผลงาน อย่าปล่อยให้ร่างกายเสื่อมสภาพก่อนงานศิลปะของเรา



✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹✹

☄ อ้างอิง
นพ.ธรรมนาถ เจริญบุญ จิตแพทย์. Burnout…หมดไฟ ทำไงจะได้ไปต่อ. สืบค้นจาก http://www.healthtoday.net
ร้องเรียนกับลุงแจ่ม. (27 ก.พ. 2555). "BURN-OUT SYNDROME" ภัยเงียบของคนทำงาน. สืบค้นจาก http://www.komchadluek.net


Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม